วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

บรรณานุกรม
1. โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง “หญ้าหนวดแมว” 2529, หน้า 8-10, 242. พะเยา เหมือนวงษ์ญาติ "สมุนไพรก้าวใหม่" 2537,หน้า 733.
จุลสารข้อมูลสมุนไพร ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 ,2536 , หน้า 24. จุลสารข้อมูลสมุนไพร ปีที่ 14(4) , 2540, หน้า 13-14
ข้อเสนอแนะ
-เราสามารถทำการทดลองกับสมุนไพรชนิดอื่นๆได้
-เราสามารถนำไปประยุกต์ทำเป็นอย่างอื่นนอกจากยาสีฟัน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
-ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำยาสีฟันสมุนไพรจากใบข่อย
-ได้ศึกษากระบวนการทำงานเป็นทีมและเป้นระบบ
-ได้เรียนรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของต้นข่อยเพิ่มมากขึ้น
ผลการทดลอง
จากผลการทดลองสรุปได้ว่าการทำยาสีฟันจากใบข่อย หลังจากที่ผสมส่วนประกอบต่างๆลงไปแล้วยังคงได้กลิ่นของใบข่อย โดยเนื้อยาสีฟันจะมีสีเขียวอ่อน
สามารถเก็บไว้ได้นานและนำไปใช้ในครัวเรือนได้


อุปกรณ์และวิธีการทดลอง


วัสดุ/ส่วนประกอบ

1.เกลือสะตุ 6 ขีด (คือเกลือที่คั่วไฟจนสุกแล้ว)

2.สารส้มสะตุ 16 กรัม (คั่วจนสุกแล้ว)

3.ดินสอพอง 250 กรัม

4.ใบฝรั่งตากแห้ง(บด) 40 กรัม

5.ใบข่อยตากแห้ง(บด) 20 กรัม

6.การบูร(บด) 20 กรัม

7.พิมเสน(บด) 15 กรัม

8.ชะเอม,อบเชย 3 ช้อนโต๊ะ

9.กานพลู 15 กรัม


วิธีการทำ

นำส่วนผสมทั้งหมดยกเว้น พิมเสน ผสมให้เข้ากันร่อนตะแกรงถี่ๆ หลังจากนั้นนำพิมเสนลงคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำไปบรรจุถุง หรือขวด ก็สามารถนำไปใช้ได้


สรรพคุณ

ช่วยให้ปากสะอาด ป้องกันฟันผุ ใบฝรั่งและใบข่อยช่วยขัดฟันให้ขาวสะอาด และช่วยลดกลิ่นปากได้เป็นอย่างดี
ตัวแปร
ตัวแปรต้น
ใบข่อย
ตัวแปรตาม
แสงแดดอุณหภูมิ
สมมุติฐานการศึกษา
1. สรรพคุณต่างๆของต้นข่อย
2.การทำยาสีฟันจากใบข่อย
ขอบเขตของโครงงาน
ศึกษาสรรพคุณของต้นข่อยและนำมาผลิตในรูปแบบยาสีฟัน
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

ต้นข่อยเป็นพืชที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา และใช้เป็นไม้ประดับที่สวยงาม นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณในการรักษาโรคเหงือกด้วยสรรพคุณทางยาอันหลากหลายของต้นข่อย จึงเป็นที่น่าสนใจและมีผู้นำมาผลิตทำเป็นสมุนไพรในรูปแบบต่างๆมากมาย
ในปัจจุบันกระแสความนิยมเกี่ยวกับสมุนไพรกำลังเพิ่มมากขึ้นด้วยความหลากหลายทางด้านการผลิต และแสดงผลให้เห็นได้จริงในด้านการบำบัดรักษา กลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้ทำการศึกษาค้นคว้า และผลิตออกมาในรูปแบบของยาสีฟันจากใบข่อย ซึ่งสามารถทำได้ง่าย และเก้บไว้ใช้ในครัวเรือนได้
บทคัดย่อ

สำหรับ การศึกษาในระดับห้องทดลอง พบว่า สารสกัดจากใบข่อย สกัดด้วยเอธานอล ๕๐% มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อยู่ในร่องปริทนต์ และการศึกษาเบื้องต้นของสารสกัดจากใบข่อย สามารถลดปริมาณของเชื้อ Streptococcus mutans ในช่องปากอย่างมีนัยสำคัญ โดยไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดด่างของน้ำลาย หรือภาวะในช่องปากอัน ที่จริง ข่อย เป็นสมุนไพรที่มีการใช้กันอยู่ในหลายประเทศในเอเชีย ประเทศอินเดียใช้น้ำต้มจากเปลือกข่อยเป็นยาแก้ไข้ โรคบิดและโรคท้องร่วง ยางจากต้นข่อยสามารถฆ่าเชื้อได้ รากใช้เป็นยาแก้บิด และใช้พอกแก้ฝี ชาวฮินดูใช้กิ่งข่อยแปรงฟันเช่นกัน ประเทศอื่นๆ มีการใช้ประโยชน์จากข่อย เช่น ใบข่อยใช้ทำความสะอาดเครื่องใช้ต่างๆ น้ำต้มของเปลือกข่อยใช้ทำความสะอาดแผล และโรคผิวหนัง ยางต้นข่อยแก้ปวด แก้ปวดบวม เมล็ดแก้ท้องร่วง และริดสีดวง น้ำสกัดจากข่อยเป็นยาฆ่าเชื้อและช่วยกระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อกลับ มาดูในประเทศไทยอีกครั้ง ต้องบอกว่าแต่โบราณมาคนไทยใช้ประโยชน์จากต้นข่อยมาก และยังคงใช้กันในชุมชนจนทุกวันนี้ ทางล้านนาใช้แก่นข่อยหั่นเป็นฝอยเล็กๆ มวนเป็นบุหรี่สูบเพื่อแก้ริดสีดวงจมูก นำใบข่อยอบไฟให้เหลืองกรอบ แล้วนำมาชงน้ำแบบชาจีน ใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ และเป็นยาบำรุงหัวใจ เมล็ดข่อยก็นำมากินถือเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร แก้ท้องอืดเฟ้อหรือช่วยขับลม ชาวเหนือก็ใช้เปลือกข่อยแก้โรคฟัน โรคผิวหนังและริดสีดวงทวาร รากต้นข่อยช่วยให้แผลแห้งได้ด้วยประโยชน์ ต้นข่อยมีอยู่มากมาย ต้นข่อยก็ไม่ได้เป็นพืชหายาก ในสวนสาธารณะบางแห่งของกรุงเทพมหานครก็ยังพบได้ หากช่วยกันส่งเสริมและนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ก็เป็นการนำภูมิปัญญามารับใช้ชีวิตร่วมสมัยได้คน โบราณรู้จักนำเปลือกข่อยทำกระดาษ เรียกว่า สมุดข่อย คุณสมบัติของกระดาษโบราณนี้เก็บไว้ได้นาน ๑๐๐ ปี ซึ่งเรายังเห็นสมุดข่อยจนทุกวันนี้ เพราะแมลงไม่กัดกิน เนื่องจากสรรพคุณกำจัดเชื้อ และเพราะรสทางยาของข่อยมีรสเบื่อเมาจึงสกัดกั้นแมลงได้นั่นเอง
โครงงานวิทยาศาสตร์
วิชาชีววิทยา เรื่อง ยาสีฟันใบข่อย
ผู้จัดทำ

ชั้นมัธยมศึกษา 6/4
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์รตนัตตยา จันทนะสาโร
โรงเรียนภัทรบพิตร
อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ข่อย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Streblus asper Lour.
ชื่อสามัญ : Siamese rough bush, Tooth brush tree
วงศ์ : Moraceae
ชื่ออื่น : ตองขะแหน่ (กาญจนบุรี) กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ) ส้มพอ (เลย)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ กิ่งก้านคดงอ เปลือกต้นบาง ขรุขระเล็กน้อย สีเทาอมเขียว มียางสีขาวข้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียน รูปรี กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก แผ่นใบสีเขียว สากมือ เนื้อใบหนาค่อนข้างกรอบ ดอก ออกเป็นช่อสั้นตามซอกใบ ดอกย่อยเล็กมาก ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้รวมกันเป็นช่อกลม ก้านดอกสั้น ดอกเพศเมียช่อหนึ่งมีดอกย่อย 2 ดอก ก้านดอกยาว ผล รูปทรงกลม ผลมีเนื้อ ผนังผลชั้นในแข็ง เมื่ออ่อนสีเขียว สุกเป็นสีเหลืองใส เมล็ดเดี่ยว แข็ง กลมส่วนที่ใช้ : กิ่งสด เปลือก เปลือกต้น เมล็ด ราก ใบ
สรรพคุณ :
กิ่งสด - ทำให้ฟันทน ไม่ปวดฟัน ฟันแข็งแรง ไม่ผุ
เปลือก - แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ไข้ ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
เปลือกต้น - แก้ริดสีดวงจมูก
เมล็ด - ฆ่าเชื้อในช่องปาก และทางเดินอาหาร - เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้
รากเปลือก - เป็นยาบำรุงหัวใจ
วิธีและปริมาณที่ใช้ใช้ :
ทำให้ฟันทน ไม่ปวดฟัน ใช้กิ่งสด 5-6 นิ้วฟุต หั่นต้มใส่เกลือเคี่ยวให้งวด เหลือน้ำครึ่งเดียว อมเช้า-เย็น
แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ไข้ ใช้เปลือกต้มกับน้ำรับประทาน
แก้ริดสีดวงจมูก ใช้เปลือกต้นมวนสูบ
ฆ่าเชื้อโรคในช่องปาก และทางเดินอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ โดยใช้เมล็ด รับประทาน และต้มน้ำอมบ้วนปาก
บรรเทาอาการปวดของมดลูกระหว่างมีประจำเดือน นำใบมาคั่วให้แห้ง ชงน้ำรับประทาน
สารเคมี :
ผล จะมีน้ำมันระเหย 1-1.4% ไขมัน 26% และในน้ำมันนี้จะประกอบด้วยสารพวก เทอปีน (terpenes) อยู่หลายชนิด และพวกเจอรานิออล (geranilo) พวกแอลกอฮอล์การบูน (camphor) ฯลฯ และนอกจากนี้ยังมีน้ำตาลอ้อย (sucrose) น้ำตาลผลไม้ (fructose) น้ำกลูโคส
ทั้งต้น มีสารพวก ลินาโลออล (linalool โนนานาล (nonanal) ดีคาลนาล (decanal) และวิตามินซี 92-98 มก.%
เมล็ด จะมีสารประกอบพวกไนโตรเจน 13-15% และสารอนินทรีย์ 7% มีน้ำมันระเหย 1% ซึ่งมีสารส่วนใหญ่ในน้ำมันระเหยนั้นเป็น d-linalool ประมาณ 70%