วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

บทคัดย่อ

สำหรับ การศึกษาในระดับห้องทดลอง พบว่า สารสกัดจากใบข่อย สกัดด้วยเอธานอล ๕๐% มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อยู่ในร่องปริทนต์ และการศึกษาเบื้องต้นของสารสกัดจากใบข่อย สามารถลดปริมาณของเชื้อ Streptococcus mutans ในช่องปากอย่างมีนัยสำคัญ โดยไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดด่างของน้ำลาย หรือภาวะในช่องปากอัน ที่จริง ข่อย เป็นสมุนไพรที่มีการใช้กันอยู่ในหลายประเทศในเอเชีย ประเทศอินเดียใช้น้ำต้มจากเปลือกข่อยเป็นยาแก้ไข้ โรคบิดและโรคท้องร่วง ยางจากต้นข่อยสามารถฆ่าเชื้อได้ รากใช้เป็นยาแก้บิด และใช้พอกแก้ฝี ชาวฮินดูใช้กิ่งข่อยแปรงฟันเช่นกัน ประเทศอื่นๆ มีการใช้ประโยชน์จากข่อย เช่น ใบข่อยใช้ทำความสะอาดเครื่องใช้ต่างๆ น้ำต้มของเปลือกข่อยใช้ทำความสะอาดแผล และโรคผิวหนัง ยางต้นข่อยแก้ปวด แก้ปวดบวม เมล็ดแก้ท้องร่วง และริดสีดวง น้ำสกัดจากข่อยเป็นยาฆ่าเชื้อและช่วยกระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อกลับ มาดูในประเทศไทยอีกครั้ง ต้องบอกว่าแต่โบราณมาคนไทยใช้ประโยชน์จากต้นข่อยมาก และยังคงใช้กันในชุมชนจนทุกวันนี้ ทางล้านนาใช้แก่นข่อยหั่นเป็นฝอยเล็กๆ มวนเป็นบุหรี่สูบเพื่อแก้ริดสีดวงจมูก นำใบข่อยอบไฟให้เหลืองกรอบ แล้วนำมาชงน้ำแบบชาจีน ใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ และเป็นยาบำรุงหัวใจ เมล็ดข่อยก็นำมากินถือเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร แก้ท้องอืดเฟ้อหรือช่วยขับลม ชาวเหนือก็ใช้เปลือกข่อยแก้โรคฟัน โรคผิวหนังและริดสีดวงทวาร รากต้นข่อยช่วยให้แผลแห้งได้ด้วยประโยชน์ ต้นข่อยมีอยู่มากมาย ต้นข่อยก็ไม่ได้เป็นพืชหายาก ในสวนสาธารณะบางแห่งของกรุงเทพมหานครก็ยังพบได้ หากช่วยกันส่งเสริมและนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ก็เป็นการนำภูมิปัญญามารับใช้ชีวิตร่วมสมัยได้คน โบราณรู้จักนำเปลือกข่อยทำกระดาษ เรียกว่า สมุดข่อย คุณสมบัติของกระดาษโบราณนี้เก็บไว้ได้นาน ๑๐๐ ปี ซึ่งเรายังเห็นสมุดข่อยจนทุกวันนี้ เพราะแมลงไม่กัดกิน เนื่องจากสรรพคุณกำจัดเชื้อ และเพราะรสทางยาของข่อยมีรสเบื่อเมาจึงสกัดกั้นแมลงได้นั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น